strawberry

Saturday, July 21, 2007

สวนฝรั่งเศส

พระราชวังแวร์ซายส์นั้นเกิดจากความคิดของกษัตริย์ที่อยู่ๆท่านก็ตั้งใจว่าจะต้องสร้างสิ่งเดียวและสิ่งสุดท้ายในโลกที่จะเกิดขึ้นมาได้ให้เป็นที่ๆหรูสง่าเต็มไปด้วยงานและคุณค่าทางศิลปให้ได้ ที่แห่งนี้ไม่ว่ากี่ปีกี่เดือนผ่านไป ความงามอันเป็นอมตะและนิรันดร์จะยังคงอยู่
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เวลาผ่านไปไม่อาจลดคุณค่าความงามทั้งจากธรรมชาติของฤดูกาลและวัฒนธรรมที่ส่งผ่านมาหลายชั่วอายุคน


ดังนั้นไม่เพียงแต่ความงามของพระราชวังเท่านั้นที่ได้รับการยกย่องและชื่นชม สวน Versaillesยังถูกเลื่องลือในความงามอันตระการตาเหนือสวนทั้งปวงอีกด้วย

สวน Versaillesในฝรั่งเศส อาจกล่าวกันว่าเป็นตำนานสวน pattern ของความคลาสสิคที่สุดแห่งหนึ่งในโลก สร้างขึ้นโดย Louis ที่ 14 ใช้เวลาสร้าง 7 ปี สวน ที่แต่แรกเริ่มเป็นเพียงสถานที่พักผ่อนล่าสัตว์ของกษัตริย์และข้าราชบริพารเป็น Cards houseที่เริ่มต้นจาก 250 acres กลายมาเป็น 15,000 acres


Louis ที่ 14 นับถือพระอาทิตย์เป็นสัญญลักษณ์ประจำพระองค์ ซึ่งเป็นการแสดงถึงอำนาจของคนเหนือมนุษย์และเหนือคนทั่วๆไป รูปแบบของสวนใน Versailles ยังคงลักษณะของ star pattern, คือแยกรูปแบบออกไปจากส่วนกลาง มี strong central axial ที่เล็งไปยังห้องนอนของ “ the Sun King” ที่ Louis ที่ 14 นับถือพระอาทิตย์เป็นสัญญลักษณ์ประจำพระองค์ ซึ่งเป็นการแสดงถึงอำนาจของคนเหนือมนุษย์และเหนือคนทั่วๆไป , มี รูปแบบทุกอย่างเป็น symmetrical , มี น้ำพุ มากมายเป็นจำนวนถึง 14,000 แห่ง ทีเดียว

สมัยเมื่อVersaillesสร้างเสร็จใหม่ๆ กล่าวกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นเมืองลับแลที่มีไว้เฉพาะกษัตริย์และข้าราชบริพารเท่านั้น แน่ละข้าราชบริพารของ Louis ที่ 14 ซึ่งห้อมล้อมพระองค์ไว้จากโลกภายนอกได้อย่างมิดชิด ไม่สามารถเห็นแผ่นดินของพระองค์อย่างแท้จริงว่าลำบากยากเข็ญเพียงใด ท่านเห็นเพียงพื้นที่ที่ถูกโอบล้อมด้วยข้าราชบริพารภายในVersaillesอย่างแท้จริง ความยิ่งใหญ่ของ Versailles ไม่มีอะไรมาเปรียบได้
แต่สำหรับบางคน สวน Versailles กลับถูกนักวิจารณ์ปากกล้าออกความเห็นว่าเป็นสวนที่แย่ที่สุด ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ ไม่มีวิว ไม่มีดิน มีแต่รูปทรงแข็งๆกับงานศิลปอันแสนจะดูไม่ได้เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว เป็นการใช้พื้นที่ได้อย่างเสียเปล่า อย่างไร้ประโยชน์ต่อสายตามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
นั่นเรียกว่าเป็นการมองต่างมุมต่างขั้วกันอย่างสิ้นเชองของนักวิจารณ์





0 Comments:

Post a Comment

<< Home